ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นในยุคของ Artificial Intelligence (AI)
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นในยุคของ
Artificial Intelligence (AI)
ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิช |
การแสวงหาความรู้
และความเชี่ยวชาญแบบเดิมๆ นั้นจะใช้ไม่ได้กับยุคสมัยนี้เนื่องมาจาก AI หรือปัญญาประดิษฐ์ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สาขาการวิจัย
AI ก่อตั้งขึ้นในวิทยาลัยดาร์ทเมาท์(Dartmouth
College)ในช่วงฤดูร้อนของปีค.ศ. 1956
ซึ่งในยุคนั้นมีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ จนกระทั้งมาถึงในยุคนี้ AI
ขีดความสามารถที่เหนือกว่ามนุษย์ก็ว่าได้
เป็นสาเหตุที่ทักษะของมนุษย์ที่มีในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป
ทักษะเก่าถือได้ว่าล้าสมัยไป AIสามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้อย่างไม่ยากเย็นเพื่อทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้และดูเหมือนว่าจะทำได้ดีกว่ามนุษย์เสียอีกด้วย
กระผมจะยกตัวอย่าง
AI หรือปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถต่างๆ
ให้ผู้อ่านได้อ่านแบบคร่าวๆกันนะครับ
1. AlphaGo Zero และ
AlphaZero
นี่เป็นชื่อของ AI
ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Alphabet Inc.'s Google DeepMind
in London. เป็น AI ที่มีทักษะด้านการเล่นหมากล้อม
ซึ่งแฝงตัวเข้าไปแข่งขันหมากล้อม ซึ่งสามารถเอาชนะมนุษย์ที่เก่งที่สุดได้
Chinook team (August 1992). From left to right: Duane Szafron, Joe Culberson, Paul Lu, Brent Knight, Jonathan Schaeffer, Rob Lake, and Steve Sutphen. Our checkers expert, Norman Treloar, is missing. |
2. Chinook
เป็นชื่อของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ยังไม่ถึงขั้นปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาในช่วงปีค.ศ.
1989 -2007 ที่มหาวิทยาลัยแอลเบอร์ตาโดยคณะของ Jonathan Schaeffer และ Paul Lu, Martin Bryant, Norman
Treloar. ซึ่งมีทักษะการเล่นเกมหมากรุกฝรั่ง และยังสามารถคว้าชัยชนะในการแข่งขันหมากรุกระดับโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์อีกด้วย
3. Case Cruncher Alpha.
เป็น AI ที่มีทักษะด้านกฎหมาย
##เนื้อหาเพิ่มเติม http://www.bbc.com/news/technology-41829534
##รายชื่อ AI อ้างอิง WIKI
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่เสี้ยวเดี๋ยวของปัญญาประดิษฐ์
และผลที่จะตามมาเพราะการเจริญเติมโตด้านเทคโนโลยีนั้น
จะทำให้เกิดงานใหม่ๆขึ้นในโลกใบนี้ ฉะนั้นการเตรียมตัว “เพื่องานที่ยังไม่เกิดโดยใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิดเพื่อแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร”
นี้เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับคนยุคใหม่อย่างเราๆมากทีเดียว ฉะนั้นการเรียนการสอนยุคใหม่จำเป็นต้องสอนให้เด็กรู้จัก
“การเรียนรู้ตลอดชีวิต(Lifelong Learning)” ก็คือการเรียนรู้ตั้งแต่เด็กจนไปถึงวัยชรา ไม้ใกล้ฝั่ง
การเตรียมตัวของคนที่จะศึกษาและพัฒนาไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง โดยคนที่จะพร้อมเตรียมต้องมีหลักการเรียนรู้ หลักการคิดดังนี้
1.มีจินตนาการ
2.มีแรงดลใจ
3.มีความเข้าใจที่ลุ่มลึก
4.ญาณทัศน์
และมีทักษะในการอยู่รอดในอนาคต
ต้องมี 3 หลักการ ASK
การเตรียมตัวของคนที่จะศึกษาและพัฒนาไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง โดยคนที่จะพร้อมเตรียมต้องมีหลักการเรียนรู้ หลักการคิดดังนี้
2.มีแรงดลใจ
3.มีความเข้าใจที่ลุ่มลึก
4.ญาณทัศน์
Attitude ทัศนคติและอุปนิสัยที่ดี
Skill ทักษะการเรียนรู้ที่ดี
ทักษะการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
Knowledge มีความรู้ที่หลากหลายถูกต้อง
และทักษะจำเป็นต่อยุคปัจจุบันและอนาคต
ได้แก่
เรียนรู้ทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 เตรียมพร้อมรับโลกใหม่
เรียนรู้ทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 เตรียมพร้อมรับโลกใหม่
สรุปความรู้ที่ได้รับ
การให้การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ความยืดหยุ่น สร้างสรรค์
ท้าทาย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย
และปัญหา รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง
และไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครู นักเรียนและชุมชน เข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่วโลก
ครูเองจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้
และนำความรู้เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติและให้เป็นประโยชน์ เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้
และต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการสืบค้น
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่
21
- เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ
รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล
- ครูมีแนวทางการสอนมีความสามารถสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่
21 เครื่องมือและกลยุทธ์การเรียนการสอนไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
- เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน
ทักษะแห่งศตวรรษที่
21 (21st Century
Skills)
สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่
๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ
คณิตศาสตร์
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ
คณิตศาสตร์
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary)
หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก
และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก
ดังนี้
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน
ได้แก่
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ
และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย
ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย
โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ
นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
ที่มา
: https://sites.google.com/site/21centuryskills2017/srup-neuxha
https://www.gotoknow.org/posts/619494
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น