การสอนแบบซิปปา (CIPPA)
การสอนแบบซิปปา (CIPPA)
รูปแบบการสอนแบบซิปปาหรือรูปแบบประสานห้าแนวคิดหลัก
โดย ทิศนา แขมมณี
ทิศนา แขมมณี(2543:17) รองศาสตราจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นจากประสสบการณ์ที่ใช้ได้จากแนวคิดทางการศึกษาต่างๆ
ในการสอนเป็นเวลานานกว่า 30 ปี และพบว่าหลักการเรียนรู้จำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมา
หลักดังกล่าว ได้แก่
1.หลักการสร้างความรู้
2.หลักกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3.หลักความพร้อมในการเรียนรู้
4.หลักการการเรียนรู้กระบวนการ
5.หลักการถ่ายโอนการเรียนรู้
หลักการทั้ง 5 เป็นที่มาของแนวคิด ”CIPPA” ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด
โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (C = Construction
of knowledge) และมีการปฏิสัมพันธ์(I = Interaction) กับเพื่อน บุคคลอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวหลายๆ
ด้าน โดยใช้ทักษะกระบวนการ(P = Process Learning ) ต่างๆ จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการ
และเรียนรู้สาระในแง่มุมที่กว้างขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นได้หากผู้เรียนอยู่ในสภาพที่มีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้
มีประสาทการรับรู้ที่ตื่นตัว ไม่เฉื่อยชา และสิ่งที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพดังกล่าวได้นั้นก็คือ
การให้ผู้เรียนมีการเคลื่อนไหวทางกาย(P = Physical
Participation) อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียนตื่นตัวเสมอ จึงสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
แต่เรียนรู้นั้นย่อมมีความหมายต่อตนเองและความรู้ความเข้าใจ และมีความลึกซึ้งและคงทนมากเพียงใดนั้นต้องอาศัยการถ่ายโอนการเรียนรู้
หากผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้(A = Application) ในสถานการณ์ที่หลากหลาย ความรู้นั้นจะเป็นประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
ด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงเกิดแบบแผน “CIPPA” ขึ้นซึ่งผู้สอนสามารถนำแนวคิดดังกล่าวไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้มีคุณภาพได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น