การเข้าใจผู้เรียนและการสอน
การเข้าใจผู้เรียนและการสอน
หลักการการสอน
หลักการสอน คือ ผู้สอน
วิธีการสอน และการเรียนรู้ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ผู้สอนจะต้องมีจรรยาบรรณแห่งความเป็นครู วิธีการสอนคือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
ผู้สอนกับผู้เรียนจะต้องสอดคล้อง เหมาะสม
เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพื่อให้การสอนบรรลุตามเป้าหมาย
ผู้สอนต้องเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน
จัดการสอนอย่างมีกระบวนการ และให้ครบองค์ประกอบการสอน ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน
การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอน
และการวัดผลประเมินผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตรงตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร
นอกจากนี้ผู้สอนควรได้คำนึงถึงหลักพื้นฐานในการสอน ลักษณะการสอนที่ดี
และปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอนให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้หลักจิตวิทยาบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย
ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ลักษณะการสอนที่ดี การสอนที่ดีต้องมีองค์ประกอบร่วมกันหลายประการ
ที่เหมาะสมสอดคล้อง
กัน แยกลักษณะ ได้ดังนี้
อาจารย์ผู้สอน
1.มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพครู
- อุทิศเวลาและเสียสละให้กับงานสอนด้วยความรับผิดชอบ
- สอนอย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
-
ช่วยเหลือและปฏิบัติต่อศิษย์อย่างเป็นธรรม
- เป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์
- หมั่นศึกษาค้นคว้าติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการของตนให้ทันต่อเหตุการณ์เสมอ
2.มีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นครู และ ตั้งใจสอน
3.ลักษณะอาจารย์อาจารย์ ควรมีลักษณะท่าทางที่จริงใจ มีเมตตา
สนใจต่อผู้เรียนให้ความ
เป็นกันเอง
4.ไม่ควรยึดมั่นในวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว
ควรเสาะหาวิธีที่เหมาะสมกับการสอน
แต่ละเนื้อหา
5.ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน
เข้าใจง่าย
วิธีการสอน
1..ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ในด้านวัย
ประสบการณ์เดิมและความแตกต่าง
ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
2. ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการเรียนด้วยการกระทำ (Learning by Doing) ให้มากที่สุด เพื่อ
จะได้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
และจำได้นาน
3. ส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม ได้แสดงความคิดเห็น ยอมรับความ
คิดเห็นซึ่งกันและกัน
4. มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ กระตือรือร้น
ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
5. การจัดเตรียมกระบวนการเรียนการสอน
การจัดห้องเรียน
การเตรียมความรู้ ใช้ตำรา
ประกอบการเรียน
มีทักษะในการสอนแบบต่าง ๆได้เหมาะสมกับเนื้อหา
6. มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริงและดู
ผลการปฏิบัติของตนเอง
7. มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม
หรือให้แสดงความ
คิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ
คิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของ
สิ่งต่าง ๆ
8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาเหตุผลความเป็นไปของสิ่งที่เรียน
ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
จากตำราหรือคำบอกเล่าอย่างเดียว
9.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม
และการประเมินผล
การเรียนการสอน
10. มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ
ที่ดีมีประโยชน์ไม่
เลียนแบบใคร ส่งเสริม กิจกรรมสุทรียภาพ
ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
11. มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน การลงโทษ
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ
ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
เนื้อหาวิชา
1.
มีความสัมพันธ์กันระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ
ในหลักสูตรเป็นอย่างดี(การสอน
แบบบูรณาการ)
สื่อการสอน
1.อุปกรณ์การสอนและการเรียน
รวมถึงห้องปฏิบัติการ
การใช้เครื่องมือต่าง ๆ มีห้องสมุดที่ สมบูรณ์ และตำราที่เป็นภาษาของตนเอง
2. มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย
ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
สิ่งแวดล้อม
1.ต้องสร้างบรรยากาศให้เหมาะแก่การเรียนรู้
ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและอารมณ์ของผู้เรียน
. 2.
มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมีการ
รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความ
คิดเห็น ที่ดี
นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู
การประเมินผล
1.ควรมีการประเมินผลตลอดเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม
การทดสอบ
เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์
ของครูตรงตาม
จุดประสงค์มากที่สุด
2.การวัดผล มีการป้อนกลับ
และการเสริม
ใช้การวัดผลเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการ
สอน
รู้จักออกข้อสอบที่ดี
ให้คะแนนยุติธรรม
3. มีการวัดผลการเรียนการสอน
โดยจะทำการวัดผลเป็นระยะ ๆ ให้ติดต่อกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิด
ความสนใจ
ตั้งใจเรียนและยังเป็นการวัดความเข้าใจของนักเรียนด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น